ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินติดตามการดำเนินโครงการตามพระราชดำริ และทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารห่างไกลการคมนาคม ได้โปรดเกล้าให้จัดหน่วยแพทย์พระราชทานออกบริการตรวจรักษาราษฎรที่มาเฝ้ารอรับเสด็จฯ โดยมีคณะแพทย์จากโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงได้ร่วมออกหน่วยแพทย์พระราชทานด้วย อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงตระหนักดีว่า ยังมีราษฎรส่วนหนึ่งที่ไม่มีโอกาสมารับบริการจากหน่วยแพทย์พระราชทานนี้ อาจจะไปรักษาตามโรงพยาบาลในพื้่นที่ พระองค์จึงได้พระราชทานเงินให้แก่โรงพยาบาลที่ได้ร่วมออกหน่วยฯ เพื่อจัดตั้งเป็น " กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี " ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงพยาบาลมีเงินทุนที่จะสงเคราะห์คนไข้ยากจนในเบื้องต้นได้
หลักเกณฑ์ในการอนุเคราะห์จ่ายเงิน
การจ่ายเงิน กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นั้น มีการบริหารงานโดยศูนย์ประกันสุขภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุเคราะห์จ่ายเงินประเภทต่างๆ ดังนี้
- ผู้ป่วยหรือญาติที่มีฐานะยากจน ที่เจ็บป่วย ไม่มีค่ายา ค่ารักษาพยาบาล ค่ายานพาหนะ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล
- ผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่นๆ พิจารณาช่วย ค่ารถ ค่าอาหาร และค่าที่พัก
- การจัดงานศพ กรณีศพไร้ญาติ หรือยากจน
- ผู้ป่วย หรือญาติที่ยากจนขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม เครื่องอุปโภค บริโภค
- กรณีอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการศูนย์ประกันสุขภาพพิจารณาตามความเหมาะสม
หมายเหตุ
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้พิจารณาตามอัตราค่ารถโดยสารประจำทาง
- กรณีเหมาจ่ายให้พิจารณาตามสภาพการเจ็บป่วย เส้นทางคมนาคม และความจำเป็นอื่นๆ
- กรณีวงเงินที่จะต้องจ่ายเกิน 5,000 บาท ให้เสนอผู้อำนวยการ หรือคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณา
ตัวอย่างแบบบันทึการให้บริการช่วยเหลือทางสังคมสงเคราะห์