วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

กระบวนการทำงานศูนย์ประกันสุขภาพ

  1. การจัดสถานที่ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ
  2. คุณสมบัติเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ
  3. Work Flow ขั้นตอนการดำเนินงาน
  4. การจัดการข้อมูล และแบบฟอร์มรับเรื่องร้องเรียน
  5. แนวทางการแก้ไขกรณีถูกจำหน่ายด้วย ทร.97
  6. แนวทางปฏิบัติระบบการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินสิทธิสวัสดิการข้าราชการ
:: การดำเนินงานหลักประกันสุขภาพ


:: คำนิยามที่เกี่ยวข้อง
  1. เรื่องสอบถาม เป็นเรื่ืองที่ประชาชนติดต่อสอบถามเพื่อขอทราบข้อมูลหรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพและโครงการอื่นที่เกี่ยวข้อง
    • การลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพ เป็นการสอบถามเกี่ยวกับวิธี สถานที่ หลักฐานที่ใช้ลงทะเบียน วิธีการดำเนินการแก้ไขสิทธิย่อยต่างๆ รวมถึงเอกสารปลดสิทธิซ้ำซ้อน ข้าราชการ ประกันสังคม เป็นต้น
    • สิทธิประโยชน์การรับบริการ เป็นเรื่องสอบถามเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์การบริการสาธารณสุข ที่ได้รับความคุ้มครองและไม่ได้รับความคุ้มครอง ว่าโรคที่เป็นหรือยาที่ใช้สามารถใช้สิทธิได้หรือไม่ เป็นต้น
    • วิธีการใช้บริการตามสิทธิ เป็นการสอบถามเกี่ยวกับวิธีการไปใช้บริการในกรณีต่างๆ ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง เช่น การใช้บริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน กรณีประสบอุบัติเหตุ เข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่นจะต้องดำเนินการอย่างไร เป็นต้น
    • ตรวจสอบข้อมูลสิทธิ เป็นการติดต่อเพื่อขอตรวจสอบสิทธิต่างๆ ผ่านหน้า website เช่น ตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพ ตรวจสอบสิทธิซ้ำซ้อน ตรวจสอบผลการอนุมัติสิทธิซ้ำซ้อน ตรวจสอบผลการลงทะเบียน เป็นต้น
    • สอบถามเกี่ยวกับสิทธิสวัสดิการอื่นๆ เป็นการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการอื่น เช่น สิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม เป็นต้น
  2. เรื่องร้องเรียนในระบบหลักประกันสุขภาพ
    1. เรื่องเกี่ยวกับคุณภาพบริการ เป็นเรื่องร้องเรียนตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 จำแนกเป็น
      • หน่วยบริการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน เป็นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับมาตรฐานการรักษาพยาบาลตามวิชาชีพ ได้แก่ ตรวจวินิจฉัย แผนการรักษาไม่เหมาะสม แพทย์ไม่จ่ายยา ให้ยาผิด เป็นต้น
      • ไม่ได้รับความสะดวกตามสมควร  เป็นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับไม่ได้รับความสะดวกในการหน่วยบริการ ได้แก่ รอนาน บริการช้า สถานที่ไม่เหมาะสม เจ้าหน้าที่พูดจาไม่สุภาพ ไม่ให้การต้อนรับ หน่วยบริการอยู่ไกล เป็นต้น
      • ถูกเรียกเก็บค่าบริการโดยไม่มีสิทธิจะเรียบเก็บ เป็นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการถูกเรียกเก็บค่าบริการในหน่วยบริการ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลเพิ่ม ถูกเรียกเก็บค่าอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เลนส์ตา ถุงอุจจาระ ถุงปัสสาะว เข็มฉีดยา เป็นต้น
      • ไม่ได้รับบริการตามสิทธิที่กำหนด เป็นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับหน่วยบริการปฏิเสธให้ใช้สิทธิ ปฏิเสธการส่งตัวเพื่อการรักษากรณีเกินศักยภาพ ปฏิเสธการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เป็นต้น
    2. เรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการทั่วไป เป็นเรื่องที่ประชาชนเดือดร้อน/ เรื่องขอความช่วยเหลืออื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องร้องเรียน ตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพ พศ. 2545 ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการต่างๆ
      • การลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพ เป็นเรื่องที่ผู้รับบริการไม่ได้รับความสะดวกเกี่ยวกับการลงทะเบียน ได้แก่ ถูกปฏิเสธการลงทะเบียน ลงทะเบียนแล้วแต่ยังไม่ได้รับสิทธิ รายละเอียดหน้า website ผิด ถูกลงทะเบียนโดยพลการ เป็นต้น
      • สิทธิไม่ตรงตามจริง(สิทธิซ้ำซ้อน) เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิการรักษาปัจจุบันจไม่ตรงตามสิทธิที่ผู้รับบริการมีอยู่จริง ได้แก่ สิทธิซ้ำซ้อนข้าราชการ สิทธิซ้ำซ้อน ประกันสังคม สิทธิคนไทยในต่างประเทศ เป็นต้น
      • เรื่องอื่นๆ
        • ขอความช่วยเหลือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ที่นอกเหนือจากสิทธิประกันสุขภาพ
        • ข้อเสนอแนะ เป็นข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อการแก้ไข ปรับปรุงระบบหลักประกันสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น
    3. เรื่องการประสานส่งต่อผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพ
  3. เรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41** เป็นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล
  4. เรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้สิทธิสวัสดิการอื่น เป็นเรื่องร้องเรียนจากการใช้สิทธิสวัสดิการอื่นของผู้มีสิทธิ นั้นๆ เช่น สิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม เป็นต้น
หมายเหตุ**
    • การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล (มาตรา 41)
      • เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล โดยไม่มีการพิสูจน์ถูกผิดโดยคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับจากวันที่รับเรื่อง และหากไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณา ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขได้ ทั้งนี้ ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้ทราบผลการวินิจฉัย
    • การจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อชดเชย กรณีผู้ให้บริการได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข (มาตรา18(4) )
      • เริ่มมีการดำเนินงานเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2550 เป็นการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ให้บริการหรือ ทายาท ที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินเพื่อ การชดเชยระดับเขตพื้นที่ เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับจากวันที่รับเรื่อง และหากไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้ทราบผลการวินิจฉัย