วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

คุณสมบัติเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ

ก. คุณสมบัติที่ควรมี
  1. มีความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ ด้านจิตวิทยา หรือด้านสังคม
  2. มีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับของระบบหลักประกันสุขภาพ
  3. มีทักษะในการฟัง การพูด การจับประเด็น และการเขียน
  4. ควรมีประสบการณ์ในการให้บริการด้านสุขภาพ
  5. เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ควรมีลักษณะ 9 ประการ คือ
    • รอบรู้ มีความรู้ความเข้าใจในนโยบาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ต่างๆในระบบหลักประกันสุขภาพ
      • เนื่องจากระบบหลักประกันสุขภาพ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ มีระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดออกมาจำนวนมาก ผู้ปฏิบัติงานจะต้องศึกษาระเบียบ ประกาศเหล่านี้อย่างถ่องแท้ ระเบียบบางอย่างกำหนดไว้กว้างๆ เวลาปฏิบัติจริงต้องมีการตีความเป็นกรณีๆ นอกจากนี้ยังมีประกาศเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ๆ ดังนั้นจึงต้องคอยติดตามข้อมูลเหล่านี้อยู่่เสมอ
    • คิดดี  มีทัศนคติที่ดีต่อการสร้างหลักประกันสุขภาพ
      • ระบบหลักประกันสุขภาพ ก่อให้เกิดผลกระทบค่อนข้างมากต่อบุคลากรระดับต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนก็ยังไม่เข้าใจในสิทธิประโยชน์ อาจมีการต่อว่าหรือแสดงความคิดเห็นในเชิงลบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องมีความเชื่อมั่นในระบบหลักประกันสุขภาพ มีทัศนคติที่ดี สามารถอธิบายหรือรับฟังอย่างมีเหตุผล ไม่รวมวิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นเชิงไม่เห็นด้วยไปกับผู้ร้องเรียน
    • วจีสัมพันธ์ มีมนุษยสัมพันธ์ดี วาจาสุภาพ
      • เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ควรเป็นผู้มีจิตใจดี มองโลกในแง่ดี มีท่ามีเป็นมิตร สามารถพูดคุยสื่อสารกับคนทั่วไปได้อย่างราบรื่น เวลารับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่ไม่พึงพอใจ อาจมีการโต้ตอบชี้แจงโดยสอดแทรกอารมณ์ขันบ้างพอสมควร เพื่อให้อารมณ์ของผู้ร้องเรียนผ่อนคลายลง (วิธีนี้คงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และประเมินคู่สนทนาให้ดีเพราะอาจทำให้เขารู้สึกว่าไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องที่สนทนากันอยู่)
    • ปฏิภาณว่องไว ไหวพริบดี  มีปฏิภาณไหวพริบสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
      • บ่อยครั้งในการปฏิบัติงานรับเรื่องร้องเรียน เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจะเป็นคนกลางระหว่างประชาชนหรือผู้รับบริการ กับแพทย์หรือผู้ให้บริการ จึงต้องมีปฏิภาณไหวพริบในการเจรจาไกล่เกลี่ยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ทั้ง 2ฝ่ายลดความโกรธลงและมีความเข้าใจที่ดีต่อกัน
    • ยิ้มใส... มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
      • นับว่าเป็นการยากพอสมควรสำหรับเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนที่จะอารมณ์ดี แจ่มใส มีใบหน้าที่เคลือบด้วยรอยยิ้มตลอดเวลา เพราะปัญหาที่เข้ามาตลอดทั้งวันมีแต่เรื่องที่ก่อให้เกิดความเคลียดทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ก็ควรมีการจัดการกับเพื่อนร่ีวมงาน อาจทำให้เห็นช่องทางในการแก้ปัญหาได้ การติดตั้งกระจกเงาเล็ก ๆ ไว้ทีั่โต๊ะทำงาน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผู้นิยมกันมาก เพราะจะช่วยเตือนตัวเองให้ทำใบหน้าให้สดชื่น มีรอยยิ้มอยู่เสมอ
    • อดทน... มีความอดทนสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี
      • เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจะต้องอดทนต่ออารมณ์ต่าง ๆ แม้แต่การที่ประชาชนอาจใช้่อารมณ์อย่างมาก เมื่อไม่พึงพอใจต่อการให้บริการของสถานพยาบาล บางครั้งอาจเป็นเพราะเขาได้รับข้อมูลที่เกินกว่าความเป็นจริง ทำให้เกิดความคาดหวังต่อการใช้บริการสูงมาก เมื่อพบเหตุการณ์ซึ่งไม่เป็นอย่างที่คิดจึงมีอารมณ์โกรธมากกว่าปกติ
    • กระตือรือร้น... มีความสนใจ กระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหา
      • เมื่อมีปัญหาเรื่องร้องเรียนเข้ามาไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์ หรือจดหมาย โดยเฉพาะการมาด้วยตนเอง การไม่รีรอที่จะเข้าไปรับฟังความทุกข์ในใจของเขา ก้อเท่ากับได้ช่วยคลี่คลายปัญหาไปได้ระดับหนึ่งแล้ว หากยังไม่สามารถประสานงานแก้ไขปัญหาได้ในทันที ควรจดข้อมูลรายละเอียดเอาไว้พร้อมนัด วันเวลาที่จะติดต่อกลับ
    • จริงใจ เป็นผู้มีความจริงใจและมีน้ำใจในการให้บริการ
      • ซึ่งแสดงออกได้ทั้งทางสีหน้าหน้าท่าทาง และน้ำเสียง ทำให้ผู้มาติดต่อสามารถรับรู้ได้ และยอมรับว่าเราได้ช่วยเขาเต็มที่แล้ว แม้ปัญหาที่ร้องเรียนอาจไม่สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด แต่ผู้ร้องก็ยังมีความพอใจ
    • อนามัยสมบูรณ์ สุขภาพดี... มีความพร้อมที้งร่างกายและจิตใจ
      • ไม่เจ็บป่วยบ่อย เพราะต้องรองรับความเดือดร้อนของผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา จึงควรรักษาสุขภาพตนเองอยู่เสมอ เมื่อปฏิบัติหน้าที่จะต้องลืมปัญหาหรือภารกิจส่วนตัวไปก่อนเพื่อให้พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น

สรุปง่าย ๆ คือ เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ต้องมี "นพลักษณ์" หรือ ลักษณะ 9 ประการ ดังนี้
  1. รอบรู้ 
  2. คิดดี
  3. วจีสัมพันธ์
  4. ปฏิภาณว่องไว
  5. ยิ้มใส
  6. อดทน
  7. กระตือรือร้น
  8. จริงใจ
  9. อนามัยสมบูรณ์

ข. หลักสูตรที่ต้องผ่านการอบรม
  1. หลักสูตรทักษะด้านการสื่อสาร การเจรจา
  2. หลักสูตรเกี่ยวกับการสร้างจิตสำนึกในงานบริการ
  3. การสัมนาเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขต
  4. หลักสูตรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การแก้ไขปัญหา การเจรจาไกล่เกลี่ย การคลายเครียด ฯลฯ