- 30 บาทยุคใหม่เพิ่มคุณภาพ เพื่อสุขภาพคนไทยที่ดีขึ้น
- เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น
- บริการไร้รอยต่อสำหรับผู้ติเชื้อ HIV / ผู้ป่วยเอดส์ / ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
- ร่วมจ่าย ร่วมพัฒนา เพื่อคนไทยสุขภาพดี
- ร่วมจ่ายอย่างไร? ที่ไหน?
- บริการที่ไม่ต้องร่วมจ่ายค่าบริการ 30 บาท
- บุคคลทีไม่ต้องร่วมจ่ายค่าบริการ 30 บาท
30 บาทยุคใหม่เพิ่มคุณภาพ เพื่อสุขภาพคนไทยที่ดีขึ้น ไม่ต้องรอรักษานาน จัดการโรคเรื้อรัง
- เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถูกถามสิทธิ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น
- ใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารับบริการสาธารณสุข - เปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้ปีละ 4 ครั้ง
- ตรวจโรค ไม่รับยา ไม่ต้องจ่าย 30 บาท
- มีหมอใกล้บ้าน ใกล้ใจ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผ่านระบบการแพทย์ทางไกล Tele Medicine
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทุกแห่งบริการเสริมสร้างสุขภาพครบวงจร ทุกลุ่มอายุ
- จัดการโรคเรื้อรัง บริการเยี่ยมบ้าน ตรวจคัดกรองป้องกัน ดูแลรักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยใน ได้รับอาหารทีดี เมนูชูสุขภาพ
- ผู้สูงอายุ 70 ปีชึ้นไป ไม่ต้องรอคิวนาน
- มียาดีใช้เพียงพอ ทั่วถึงและเป็นธรรม
- บริการแพทย์แผนไทย ยาไทย / ยาสมุนไพร บริการนวดไทยเพื่อการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพ บริการทับหม้อเกลือหลังคลอด
- ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ผู้ติดเชื้อ HIV / ผู้ป่วยเอดส์ รับบริการด้วยมาตรฐานเดียวกัน
ผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต หมายถึง ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็น อาการที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจ สมอง การหายใจ ต้องได้รับการรักษาและดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้รวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น หัวใจหยุดเต้น / หอบรุนแรง / มีอาการเขียวคล้ำ / หมดสติไม่รู้สึกตัว / สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นหลอดลม / มีอาการวิกฤติจากอุบัติเหตุ / มีเลือดออกมากห้ามไม่หยุด / ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง / แขน ขา อ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดลำบาก / ชัก / มีอาการวิกฤติจากไข้สุง / ถูกสารพิษ สัตว์มีพิษกัดต่อย หรือได้รับยามากเกินขนาด เป็นต้น อาการฉุกเฉินนอกเหนือจากนี้ หากไม่แน่ใจโปรดโทรสายด่วน 1669 เพื่อขอคำปรึกษาและบริการช่วยเหลือต่อไป
- ผู้ป่วยทุกราย ทุกสิทธิ สามารถเข้าถึงการดูแลรักษาด้วยเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน
- ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาต่อเนื่องโดยวิธีการรักษาแบบเดิม แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิการรักษา
- ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาภายใต้ระบบบริการของกองทุนที่ย้ายเข้าไปใหม่
- หน่วยบริการได้รับชดเชยค่าบริการและเสชภัณฑ์ตามระเบียบของกองทุนที่ผู้ป่วยย้ายเข้าใหม่
บุคคลที่ร่วมจ่ายค่าบริการ 30 บาท คือ ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพรับบริการรักษาพยาบาลจนสิ้นสุด และได้รับยา โดยยกเว้นกลุ่มบุคคล 21 กลุ่ม และการบริการที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข บุคคลที่ต้องร่วมจ่าย หากมีความประสงค์ไม่จ่ายค่าบริการ 30 บาท สามารถแจ้งความจำนงได้ที่หน่วยบริการ
- บุคคลที่ต้องร่วมจ่ายค่าบริการเมื่อรับบริการรักษาพยาบาลและได้รับยา ต้องร่วมจ่ายค่าบริการครั้งละ 30 บาท
- จ่ายค่าบริการให้แก่โรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไป (สถานพยาบาลที่มีเตียงนอนตั้งแต่ 10 เตียงขึ้นไป)
- บริการสร้างเสริมสุขภาพ
- บริการป้องกันโรค
- บริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ เจ็บป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน
- การเข้ารับบริการสาธารณสุขในหน่วยบริการที่มีระดับต่ำกว่าโรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ สถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกที่ร่วมโครงการบัตรประกันสุขภาพ เป็นต้น
- ผู้มีรายได้น้อย ตามระเบียบสำนักนายกฯ
- ผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบลและบุคคลในครอบครัว
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และบุคคลในครอบครัว
- ผู้ที่มีอายุ 60 ขึ้นไป
- เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี บริบูรณ์
- คนพิการ ตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- พระภิกษุ สามเณร แม่ชี นักบวช นักพรต และผู้นำศาสนาอิสลามที่มีหนังสือรับรอง รวมถึงครอบครัวของผู้นำอิสลาม
- ทหารผ่านศึกทุกระดับชั้นที่มีบัตรทหารผ่านศึกและบุคคลในครอบครัว รวมถึงผู้ได้รับพระราชทานเหรียญชั้นสมรภูมิและทายาท
- นักเรียนไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
- นักเรียนทหารและทหารเกณฑ์
- ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรปและบุคคลในครอบครัว
- อาสาสมัครมาลาเรีย ตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุข และบุคคลในครอบครัว
- ช่างสุขภัณฑ์หมู่บ้านตามโครงการของกรมอนามัยและบุคคลในครอบครัว
- ผู้บริหารโรงเรียน และครูของโรงเรียนเอกชนที่สอนศาสนาอิสลามควบคู่กับวิชาสามัญหรือวิชาชีพและบุคคลในครอบครัว ในเขตจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ระนอง กระบี่ พังงา และภูเก็ต
- ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดน
- ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน
- สมาชิกผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย ซึ่งมีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทย ว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป
- หมออาสาหมู่บ้านตามโครงการกระทรวงกลาโหม
- อาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม
- อาสาสมัครทหารพรานในสังกัดกองทัพบก
- บุคคที่แสดงความประสงค์ไม่จ่ายค่าบริการ 30 บาท