วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

รายงานการเยี่ยมสำรวจ ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2557

หน่วยงาน ศูนย์ประกันสุขภาพ วันเดือนปี 28 สิงหาคม 2557

ผู้เยี่ยมสำรวจ คุณเปรมศรี สาระทัศนานันท์, คุณพัทธ์ธีรา พลเดชาสวัสดิ์ และคุณพรพิมล อินทรประไพ    
หัวหน้าหน่วยงาน ว่าที่ ร.ต.เดชา สายบุญตั้ง

สิ่งที่พบ/ข้อเสนอแนะ/โอกาสพัฒนา
ข้อเสนอแนะ
  1. การดำเนินงานตามแผน 64%
    • กิจกรรมที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงาน เช่น เป้าหมายที่ 1
      • แนวทางการแก้ไข  เป้าหมายที่ 1 ศูนย์ประกันผ่านการรับรองตามมาตรฐานศูนย์บริการงานหลักประกันสุขภาพ 
      • ได้ปรับปรุงให้มีรายงานการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ โดยอ้างอิงตามเกณฑ์เครื่องมือชี้วัดมาตรฐานหน่วยบริการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2558 เรียบร้อย (รายละเอียดมาตรฐานการดำเนินงาน)
  2. กระบวนการคุณภาพของหน่วยงาน 3P
    • การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
      • แนวทางการแก้ไข จะดำเนินการจัดการในปีงบประมาณ 2558 ต่อไป
    • กระบวนการทำงานในแผนปฏิบัติการประจำปีไม่สอดคล้องไม่สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ บางเป้าไม่สามารถวัดความสำเร็จของงาน เช่น เป้าหมายที่ 1 เป้าหมายที่ 3
      • แนวทางการแก้ไข ได้ดำเนินการประเมินตนเอง ในหลักเกณฑ์มาตรฐานศูนย์บริการงานหลักประกันสุขภาพตามคำสั่งให้ประเมินตนเองของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเรียบร้อย มาตรฐานการดำเนินงาน
    • ไม่มีรายงานตัวชี้วัดความสำเร็จของงานเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น คะแนนมาตรฐานผ่านเกณฑ์ของ สปสช.
      • แนวทางการแก้ไข เนื่องจากศูนย์ประกันสุขภาพได้ดำเนินการจัดทำเอกสารในรูปแบบ Paperless จึงไม่ได้จัดทำเอกสารเป็นลายลักษณือักษร โดยรายงานผ่านเวปบล็อคของหน่วยงาน มาตรฐานการดำเนินงาน
  3. ความเสี่ยง
    • ควรมีการติดตามผลการดำเนินงาานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งสิทธิผิด
      • แนวทางการแก้ไข  มีการตรวจสอบติดตามเป็นประจำและแจ้งผลงานให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบได้ทราบ
    • อุบัติการเกิดขึ้นซ้ำไม้ได้ปรับมาตรการป้องกัน
      • แนวทางการแก้ไข  มาตรการป้องกันได้กำหนดแนวทางไว้ชัดเจนแล้ว ในขั้นตอนของการตรวจสอบสิทธิและส่งตรวจ
    • ไม่มีการรายงานความเสี่ยงใน HOSxP ทำให้ระบบความเสี่ยงของโรงพยาบาลไม่ครบถ้วน
      • แนวทางการแก้ไข ได้มีรายงานความเสี่ยงมากเป็นอันดับ 1 ในโปรแกรม HOSxP แต่ได้รับคำแนะนำจากผู้บริหารความเสี่ยงในเรื่องของความเสี่ยงระดับเล็กน้อยไม่สมควรลงในโปรแกรม ควรบันทึกและส่งต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบเท่านั้น
    • ควรมีการบันทึกการสื่อสารให้เป็นลายลักษณ์อักษร
      • แนวทางการแก้ไข เนื่องจากศูนย์ประกันสุขภาพได้ดำเนินการจัดทำเอกสารในรูปแบบ Paperless จึงไม่ได้จัดทำเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร
    • ควรจัดทำแนวทางความเสี่ยงระดับรุนแรงให้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จงใจให้ข้อมูลเป็นเท็จเพื่อรับเป็นบิดาเด็กแรกเกิด
      • แนวทางการแก้ไข ได้ดำเนินการตามแนวทางการป้องกันความเสี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงในระดับดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำ โดยปัจจุบันไม่ได้มีความเสี่ยงในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำ
    • ควรมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงสำคัญ
  4. การพัฒนาบุคลากร HRD
    • โครงสร้างบุคลากรไม่เป็นปัจจุบันตามงานที่ปฏิบัติจริง
    • การกำหนดบทบาท หน้าที่ ไม่ตรงกับการปฺฏิบัติงานจริง
    • ไม่จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรตาม trainning need อบรมภายนอก อบรมภายใน
      • แนวทางการแก้ไข เนื่องจากศูนย์ประกันสุขภาพต้องดำเนินงานตามระเบียบของ สปสช กรมบัญชีกลาง และสำนักงานประกันสังคม ซึ่งทักษะความรู้ต่างๆ สามารถศึกษาได้ตามเอกสารที่ได้รับ ไม่จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรม
    • ยังไม่นำผลประเมินพัฒนาบุคลากรมาทำแผนพัฒนา
      • แนวทางการแก้ไข จะดำเนินการปรับปรุง แก้ไข ในปีงบประมาณ 2558 ต่อไป
    • ยังไม่ทำแผนพัฒนาบุคลากรปี 2558
      • แนวทางการแก้ไข จะดำเนินการปรับปรุง แก้ไข ในปีงบประมาณ 2558 ต่อไป